วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555


อุปกรณ์รับข้อมูล

หน่วยรับเข้า (Input Unit)  
หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล อาจส่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลได้โดยตรง เช่น ผ่านแผงแป้นอักขระ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) ปากกาแสง (Light Pen)ก้านควบคุม (Joystick) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) หรือโดยใช้อุปกรณ์รับข้อมูลอ่านข้อมูลในสื่อข้อมูล ซึ่งในกรณีนี้ต้องนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อข้อมูลเสียก่อน ตัวอย่าง ของอุปกรณ์รับข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่เครื่องขับแผ่นบันทึก (Disk Drive) เครื่องขับเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape Drive) สำหรับตัวอย่างสื่อข้อมูล ได้แก่ แผ่นบันทึก (Floppy Disk หรือ Diskette) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นต้น โดยอุปกรณ์รับข้อมูลจะเปลี่ยนข้อมูลที่รับเข้ามาให้อยู่ในรูปของรหัส แล้วส่งไปยังหน่วยความจำเพื่อเตรียมทำการประมวลผลต่อไป
อุปกรณ์รับเข้าในปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการในการนำข้อมูลเข้าที่ต่าง ๆ กัน เราอาจแบ่งประเภทของอุปกรณ์รับเข้าตามลักษณะการรับข้อมูลเข้าได้ดังนี้  
4.2.1  อุปกรณ์รับเข้าแบบกด  
  
รูปที่ 4.2 แผงแป้นอักขระ (Keyboard)  
    (1)  แผงแป้นอักขระ (Keyboard)  
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น  

การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (Shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 บิต และ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์  เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทย จึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งาน
ได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง  
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออกมารุ่นแรก ๆตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะมีแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาใน พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้น จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า“แผงแป้นอักขระพีซีเอที”และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้าเช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นพีซีเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้นการเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่  
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลง โดยลดจำนวนแป้นลงแล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว  

4.2.2  อุปกรณ์รับเข้าแบบชี้ตำแหน่ง  

     (1)  เมาส์ (Mouse)  
ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาในระยะหลัง ๆ นี้ สามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปกราฟิกแทนคำสั่ง มีการใช้งานเป็นช่องหน้าต่าง และเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพหรือสัญรูป (Icon) อุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้จึงเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่เรียกว่า “เมาส์” (Mouse)  
เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น ด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศทางของตัวชี้จะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์  


ที่มา http://61.19.202.164/resource/ebook/ipst-it4/files/Pic3_4_5/pic4_02.gif  
รูปที่ 4.3 แสดงภาพภายในของเมาส์แบบทางกล  

เมาส์  แบ่งได้เป็น  2  แบบ คือ  แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม
ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี  เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่ง  เมาส์แบบทางกลนี้  มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะ คือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่อง สัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพ  

ที่มา http://www.magmareport.com/uploads/pics/main/files/Chip/Auguest%202007/Reviews/Logitech%20VX%20Nano/Logitech%20VX%20Nano-2.jpg  
รูปที่ 4.4 เมาส์แบบใช้แสง  

            เมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (Mouse Pad) ซึ่งเป็นตาราง(Grid)
ตามแนวแกน X และแกน Y เมื่อเลื่อนตัวเมาส์เคลื่อนไปบนแผ่นตารางรองเมาส์ ก็จะมีแสงตัดผ่านตารางและสะท้อนขึ้นมา ทำให้ทราบตำแหน่งที่ลากไป เมาส์แบบนี้ไม่ต้องใช้ลูกกลิ้งกลม แต่ต้องใช้แผ่นตารางรองเมาส์พิเศษ  

      (2)  อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก  
เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการพกพา
ไปในที่ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงน้อยที่สุดและใช้เนื้อที่ในการใช้งานน้อยที่สุดดังจะเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวมีแผงแป้นอักขระติดอยู่กับจอภาพและอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ เมาส์ จึงต้องมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่แทนเมาส์โดยจะต้องออกแบบให้สามารถติดอยู่กับตัวเครื่องได้เลยสะดวกในการพกพาและใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย

  ในปัจจุบันเรามีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ และมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาอยู่ 3 ชนิด ได้แก่  

ก)  ลูกกลมควบคุม (Track Ball)  
มีลักษณะเป็นลูกบอลกลมอยู่ภายในเบ้าตรงบริเวณแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยการหมุนลูกกลมไปในทิศทางที่ต้องการ  

ที่มา http://zonehardwares.siam108site.com/images/mouse8.jpg  

รูปที่ 4.5 ลูกกลมควบคุม  

ข)  แท่งชี้ควบคุม (Track Point)  
มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติก ที่ส่วนยอดหุ้มด้วยยางโผล่ขึ้นมาตรงกลางในแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โ ดยการโยกแท่งชี้ควบคุมไปในทิศทางที่ต้องการ  

ที่มา http://zonehardwares.siam108site.com/images/mouse9.jpg  
รูปที่ 4.6 แสดงการใช้งานแท่งชี้ควบคุมบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก  

ค)  แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad)  
เป็นแผ่นพลาสติกที่ไวต่อการสัมผัส อยู่ตรงหน้าแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่นิยมติดตั้งบน เครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กในปัจจุบัน เนื่องจากใช้งานง่าย ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยการแตะสัมผัสบนแผ่นรองสัมผัสเพื่อควบคุมตัวชี้ไปในทิศทางที่ต้องการ และสามารถคลิกหรือดับเบิลคลิกเพื่อเลือกรายการหรือสัญรูปได้  
  
รูปที่ 4.7 แสดงตำแหน่งของแผ่นรองสัมผัสบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

(3)  ก้านควบคุม (Joystick)  
อุปกรณ์รับเข้าชนิดนี้เป็นที่คุ้นเคยของนักเรียนที่นิยมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีการแสดงผลเป็นกราฟิกที่ตัวผู้เล่นที่ปรากฏบนจอภาพต้องมีการเคลื่อนที่เพื่อทำภารกิจตามกติกาของเกมตัวผู้เล่นที่ปรากฏบนจอภาพเปรียบได้กับตัวชี้ตำแหน่งที่ปรากฏในซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปและก้านควบคุมนี้ก็ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ที่คอยกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยลักษณะของก้านควบคุมจะคล้ายกล่องที่มีก้านโผล่ออกมา และก้านนั้นสามารถบิดขึ้น ลง ซ้าย ขวา ได้ การเคลื่อนที่ของก้านนี้เองที่เป็นการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง  
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/32/hardware/images/logitechFreedomJoystickWirelesss.gif  
รูปที่ 4.8 ก้านควบคุม  

หลักการทำงานของก้านควบคุมจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ภายในที่เรียกว่า “โพเทนชันมิเตอร์”
(Potentionmeter) สองตัว โพเทนชันมิเตอร์จะหมุนตามและอ่านค่าทิศทางการบิดของก้านควบคุม โพเทนชันมิเตอร์ตัวหนึ่งจะรับรู้ทิศทางในแนวแกน X หรือแนวนอน (Horizontal Line) ในขณะที่อีกตัวหนึ่งจะรับรู้ทิศทางในแนวแกน Y หรือแนวตั้ง (Vertical Line) การอ่านค่าของการบิดก้านควบคุมของอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นจะให้สัญญาณไฟฟ้า 2 สัญญาณที่เป็นอิสระต่อกันส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นข้อมูลที่ไปกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งหรือตัวของผู้เล่นบนจอภาพ ดังนั้น จะเห็นว่าการทำงานของก้านควบคุมจะไม่ให้รายละเอียดมาก เพียงแค่ให้ผู้ใช้เห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ได้เท่านั้น 

4.2.3  อุปกรณ์รับเข้าแบบปากกา  

อุปกรณ์รับเข้าในกลุ่มนี้จะมีส่วนประกอบอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ คือ อุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา แต่จะมีแสงที่ปลายงานที่ใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้มักเป็นงานเกี่ยวกับกราฟิกที่ต้องมีการวาดรูป งานวาดแผนผัง และงานคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ(Computer Aided Design:CAD)ซึ่งถ้าใช้อุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา จะช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อุปกรณ์รับเข้าระบบปากกาที่มีใช้งานอยู่แพร่หลาย ได้แก่ 

(1)  ปากกาแสง (Light Pen)  
เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่อแสงที่นอกจากจะใช้ในการวาดรูปสำหรับงานกราฟิกแล้ว ยังสามารถทำหน้าที่เหมือนเมาส์ในการชี้ตำแหน่งบนจอภาพหรือทำงานกับรายการเลือกและสัญรูปเพื่อสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ปลายข้างหนึ่งของปากกาชนิดนี้จะมีสายเชื่อมที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อมีการแตะปากกาที่จอภาพข้อมูลจะถูกส่งผ่านสายนี้ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถรับรู้ตำแหน่งที่ชี้และกระทำตามคำสั่งได้นอกจากนี้เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาหรือปาล์มท็อปอย่างแพร่หลาย ก็มีการนำปากกาชนิดนี้มาใช้ในการรับข้อมูลที่เป็นลายมือบนเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ด้วย  

ที่มา http://61.19.202.164/resource/ebook/ipst-it4/files/Pic3_4_5/pic4_08.gif  
รูปที่ 4.9 ปากกาแสง ปลายด้านหนึ่งมีสายเชื่อมไปต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์  

ที่มา http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:u9yF4dTX9YseYM:https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEinD7heDgGS2ll-Lq1ItTqyOnqm5BKY6Nl6H84VwNfDReYliCgjZaM7gSawNdFEKvWCKnWW0w2Gq2rvIigwOqai7vctvLF-M85SZBfccF5Daw9FkEW37IS6TC1Rq4EK8N4LSUYtpy5hnM6m/s320/lightpen.jpg  
รูปที่ 4.10 แสดงการใช้ปากกาแสงเลือกรายการบนจอภาพ  

(2)  เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing Tablet)  
หรืออาจเรียกว่าแผ่นระนาบกราฟิก (Graphic Tablet) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่มีส่วนประกอบ 2 ชิ้น ได้แก่ กระดานแบบสี่เหลี่ยมที่มีเส้นแบ่งเป็นตาราง (Grid) ของเส้นลวดที่ไวต่อสัมผัสสูง และปากกาที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ตำแหน่งหรือวาดรูปบนกระดานข้างต้น คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ตำแหน่งของกระดานที่มีการสัมผัสหรือวาดเส้น และเส้นที่วาดจะแสดงบนจอภาพได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้มักใช้ในการออกแบบรถยนต์หรือหุ่นยนต์  

ที่มา http://graphics.sci.ubu.ac.th/wiki/images/thumb/d/d5/188733.jpg/250px-188733.jpg  
รูปที่ 4.11 แสดงการใช้เครื่องอ่านพิกัดช่วยในงานออกแบบ  

4.2.4  อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส  
จอสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษที่สามารถรับรู้ได้ว่ามีการสัมผัสที่ตำแหน่งใดบนจอภาพ เมื่อมีการเลือก ตำแหน่งที่เลือกจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่ทำงานเพื่อแปลเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้งานมักเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเฉพาะ การใช้จอสัมผัสเหมาะกับการใช้งานหรือซอฟต์แวร์ที่ต้องมีการเลือกคำสั่งในรายการเลือกหรือสัญรูป โดยต้องออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ให้มีสัญรูปที่มีขนาดใหญ่เพื่อสะดวกในการเลือกและลดความผิดพลาด
                     ปัจจุบันเราจะพบเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้จอภาพสัมผัสวางอยู่ทั่วไปตามสถานที่สาธารณะหรือห้างสรรพสินค้าไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งไว้เพื่อให้ข้อมูลทางการท่องเที่ยว เครื่องคอมพิวเตอร์บอกตำแหน่งต่าง ๆ ในสถานที่ เครื่องคอมพิวเตอร์อธิบายสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่ตู้เกมแบบหยอดเหรียญ  

ที่มา http://61.19.202.164/resource/ebook/ipst-it4/files/Pic3_4_5/pic4_11.gif  
รูปที่ 4.12 แสดงการใช้งานจอสัมผัสเลือกตำแหน่งบนจอภาพ 

เทคโนโลยีการผลิตจอภาพสัมผัสในปัจจุบันมีด้วยกัน 4 แบบได้แก่เทคโนโลยีเยื่อเชิงตัวนำ
(Conductive Membrane) เทคโนโลยีจานเก็บประจุ (Capacity Plate) เทคโนโลยีคลื่นจากสมบัติของเสียง
(Acoustic Wave) และเทคโนโลยีลำแสงรังสีอินฟาเรด (Infrared-Beam) ซึ่งเทคโนโลยีสุดท้ายเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีความละเอียดมาก แต่ก็มีราคาแพง  
ถึงแม้การใช้จอภาพสัมผัสจะช่วยให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น โดยสามารถใช้นิ้วมือสั่งงานบนจอภาพโดยตรง แต่ก็ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานทั่วไป เนื่องจากอุปกรณ์ประเภทนี้มีน้ำหนักมากและต้องใช้
พลังงานไฟฟ้าสูง  

4.2.5  อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ  

(1)  เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)  
ก่อนที่เราจะรู้จักกับเครื่องอ่านรหัสแท่ง  ก็คงต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “รหัสแท่ง” (Bar Code) ก่อน
                   รหัสแท่งเป็น สิ่งที่เราพบเห็นได้บ่อยในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบนสินค้าในห้างสรรพสินค้าหรือบนหนังสือห้องสมุด รหัสแท่งเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่มีลักษณะเป็นแท่งหรือแถบสีขาวและดำเรียงต่อเนื่องกันในแนวตั้ง แต่ละแท่งมีความหนาไม่เท่ากัน ความหนาที่แตกต่างกันนี้เองทำให้เราสามารถใช้รหัสแท่งเป็นสัญลักษณ์แทนสินค้าหรือของที่ต่างชนิดกันหรือคนละชิ้นกันได้  

ที่มา http://www.whitemedia.org/wma/images/stories/teamwork/mai/8_31.jpg  
รูปที่ 4.13 รหัสแท่ง  

สำหรับเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นเพื่อนำเข้าข้อมูลที่เป็นรหัสแท่งโดยเฉพาะ โดยก่อนที่จะนำระบบ การอ่านรหัสแท่งมาใช้ในงานใด ๆ ต้องกำหนดมาตรฐานของรหัสแท่งที่ใช้เสียก่อนเช่น ในซูเปอร์มาร์เก็ตนิยมใช้มาตรฐานยูพีซี (Universal Product Code : UPC)ซึ่งเข้ารหัสโดยใช้ตัวเลขความยาว 12 ตัว โดยตัวเลขแต่ละตัวจะมีความหมายที่สามารถอ้างถึงสินค้าได้ ในขณะที่หน่วยงาน เช่น โรงเรียน โรงงาน มักนำมาตรฐานโค้ด 39 (Three Of Nine) มาใช้งาน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นกว่า และสามารถเข้ารหัสได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และอักขระพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถขยายความยาวของรหัสได้ตามต้องการด้วย  

ที่มา http://www.teedindd.com/home/components/com_joomlaboard/uploaded/images/123-2cb97595df7fb2afdf89b83722d00341.JPG  
รูปที่ 4.14 เครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ
  
การทำงานของเครื่องอ่านรหัสแท่งใช้หลักการของการสะท้อนแสง โดยเครื่องอ่านจะส่องลำแสงไปยังรหัสแท่งที่อยู่บนสินค้า แล้วแปลงรหัสที่อ่านได้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านสายที่เชื่อมต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นนี้โดยเฉพาะนำไปประมวลผล ซึ่งโดยมากมักเป็นซอฟต์แวร์ทางด้านฐานข้อมูล เช่น ถ้าเป็นการขายสินค้า เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์รับสัญญาณจากเครื่องอ่านจะรับรู้ว่าสินค้าชนิดใดถูกขายไป ซอฟต์แวร์จะสั่งให้ไปดึงข้อมูลราคาของสินค้าชนิดนั้นขึ้นมาแสดงที่จอภาพ ในขณะเดียวกันจะไปลดจำนวนสินค้าชนิดนั้นออกจากข้อมูลสินค้าคงคลัง  
เครื่องอ่านรหัสแท่งนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสามารถอำนวยความสะดวกในการนำเข้าข้อมูลแทนการนำเข้าข้อมูลผ่านแผงแป้นอักขระ สามารถลดความผิดพลาดระหว่างการนำเข้าข้อมูล และช่วยให้การทำงานเป็นอัตโนมัติเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้  

(2)  เครื่องกราดตรวจ (Scanner)  
หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า “สแกนเนอร์” (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้งานเอกสารและงานนำเสนอข้อมูล เป็นอย่างมาก อุปกรณ์นี้สามารถนำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์ได้ โดยใช้หลักการสะท้อนแสง ข้อมูลที่รับเข้าโดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นรูปภาพที่ได้รับการแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและตีความได้ และสามารถ เก็บในหน่วยความจำได้ผู้ใช้สามารถนำรูปดังกล่าว ไปประกอบในแฟ้มข้อมูลเอกสารที่สร้างจากซอฟต์แวร์ประมวลคำหรือแฟ้มข้อมูลงานนำเสนอที่สร้างจากซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูลได้  

ที่มา http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/system/images/scanner/scanner.gif  
รูปที่ 4.15 เครื่องกราดตรวจ  

ในการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องมีซอฟต์แวร์ช่วยในการแสดงข้อมูลและจัดเก็บด้วย การทำงานของอุปกรณ์ใช้เทคโนโลย ีการส่องแสงผ่านฟิลเตอร์ 3 ตัว ได้แก่ ฟิลเตอร์สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ไปยังวัตถุที่ต้องการกราดตรวจ (Scan) เมื่อแสงผ่านวัตถุจะเกิดการสะท้อนผ่านกระจกและเลนส์ส่งไปยังวัตถุไวแสงซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับความเข้มของแสงหลังจากนั้นแปลงความเข้มของแสงที่แตกต่างกัน ให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และข้อมูลดังกล่าวจะแสดงเป็นรูปภาพโดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องสแกนเนอร์นั้น ๆ ผู้ใช้สามารถจัดเก็บแล้วนำรูปที่ได้ไปตกแต่งเพิ่มเติมโดยใช้ซอฟต์แวร์กราฟิก เช่น ซอฟต์แวร์โฟโทชอพ (Photoshop)  
คุณภาพของสแกนเนอร์ จะพิจารณาจากความละเอียดของภาพซึ่งมีหน่วยเป็นจุดต่อนิ้ว
(Dot Per Inch : dpi) ภาพที่มี จำนวนจุดต่อนิ้วมากจะมีความละเอียดสูง ซึ่งจะเหมือนรูปจริงมาก นอกจากนี้ความสามารถในการแยกแยะสีของสแกนเนอร์และความเร็ว ในการกราดตรวจก็มีความสำคัญเช่นกัน  

(3)  กล้องถ่ายภาพดิจิทัล (Digital Camera)  
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่นิยมมากในปัจจุบัน  อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถนำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือกราฟิก มีลักษณะและการใช้งาน เหมือนกล้องถ่ายรูปธรรมดาทั่วไป แต่กล้องดิจิทัลไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ แต่จะเก็บข้อมูลภาพไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลที่เก็บ เป็นข้อมูลแบบดิจิทัล ที่รูปแต่ละรูปประกอบด้วยจุดภาพ (Pixel) เล็ก ๆ จำนวนมาก ความละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดดังกล่าว กล้องดิจิทัลที่ผลิตได้ในปัจจุบันมีความละเอียดของภาพมากกว่า 1 ล้านจุดภาพ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้กล้องดิจิทัลเป็นที่นิยม คือ ผู้ใช้สามารถดูผลการถ่ายรูปได้หลังจากถ่ายรูปแต่ละรูปเลย โดยใช้จอภาพที่อยู่บนกล้อง หากรูปที่ถ่ายนั้นไม่เป็นที่พอใจก็สามารถถ่ายใหม่ได้ทันที  


รูปที่ 4.16 กล้องถ่ายภาพดิจิทัลและหน่วยความจำแบบแฟลชที่เก็บข้อมูล 

ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลของกล้องดิจิทัลเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คือหน่วยความจำรองที่ใช้เก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นบันทึก หรือหน่วยความจำที่เรียกว่า “คอมแพ็กแฟลช” (Compact Flash) ซึ่งเป็นแผ่นซิลิคอนเล็ก ๆที่บรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไว้จำนวนมากมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเหมาะกับการพกพาเมื่อต้องการย้ายข้อมูลรูปภาพในคอมแพ็กแฟลชมาเก็บใน เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้สายเชื่อมต่อจากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อ หรือเส้นทางในการย้ายข้อมูล  

4.2.6  อุปกรณ์รับเข้าแบบจดจำเสียง  
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่นี้มีความพยายามทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับคำสั่งหรือข้อมูลที่เป็นเสียงพูดได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวก ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อประโยชน์ดังกล่าว เรียกว่า “อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด” (Speech Recognition Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนักคอมพิวเตอร์และนักภาษาศาสตร์ การใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ต้องมีซอฟต์แวร์ที่เก็บฐานข้อมูลของคำศัพท์และความหมายของคำ นอกจากนี้ยังต้องจดจำน้ำเสียง และสำเนียงของผู้ที่จะใช้งานด้วย เนื่องจากการพูดของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในแงของน้ำเสียงและสำเนียงดังนั้นก่อนการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และจดจำน้ำเสียงและสำเนียงของผู้ใช้งานระยะหนึ่งก่อนจึงจะใช้เริ่มงานจริงได้ส่วนการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้จะรับข้อมูลเข้าทางไมโครโฟน(Microphone)แล้วแปลงข้อมูลเสียงให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอลหลังจากนั้นนำข้อมูลที่แปลงได้ไปเปรียบเทียบกับคำศัพท์ในฐานข้อมูล หาความหมายของคำนั้น ซึ่งอาจเป็นคำสั่ง เมื่อได้ความหมายก็สั่งให้คอมพิวเตอร์กระทำการ
ตามความหมายของคำสั่งดังกล่าว  
ถึงแม้อุปกรณ์ชิ้นนี้จะสามารถรับเข้าข้อมูลสะดวกสบายขึ้น อีกทั้งสามารถช่วยคนตาบอดที่ไม่สามารถสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านแผงแป้นอักขระหรือเมาส์ได้ แต่ก็ยังมีข้อเสียที่ต้องได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ เช่น ปัญหาในเรื่องของน้ำเสียงและสำเนียง เนื่องจากผู้สั่งการถึงแม้จะเป็นคนเดียวกัน แต่หากสั่งการในสภาวะอารมณ์ที่แตกต่างกัน มีผลให้น้ำเสียงแตกต่างจากเดิม การทำงานของอุปกรณ์ก็อาจผิดพลาดไปได้ ปัญหาในเรื่องความสามารถในการจดจำคำศัพท์ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของหน่วยความจำ ทำให้จำนวนคำศัพท์ที่จำได้มีจำกัด และไม่สามารถแยกแยะคำศัพท์ที่พ้องเสียงกันได้ เช่น คำศัพท์ภาษาอังกฤษ to too และ two

ที่มา :  http://61.7.233.218/~sby_budget/wbi/l4_2.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น